เข้าสู่ระบบ








![]() | วันนี้ | 866 |
![]() | เมื่อวานนี้ | 4218 |
![]() | สัปดาห์นี้ | 866 |
![]() | สัปดาห์ที่แล้ว | 49130 |
![]() | เดือนนี้ | 95185 |
![]() | เดือนที่แล้ว | 150496 |
![]() | ทั้งหมด | 10109527 |
จำนวนผู้เข้าชมเว็บ
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการใช้งานระบบเรียนรู้ทางไกลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน (e-Learning) ปี 2561 |
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยกองความปลอดภัยแรงงาน จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมศักยภาพเชิงเทคนิควิชาการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ผ่านระบบการเรียนรู้ทางไกล (e-Learning) เพื่อเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยฯ ทั้งที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ได้แก่ พนักงานตรวจความปลอดภัย และในภาคเอกชน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่างๆ ซึ่งเป็นกำลังสาคัญในการขับเคลื่อนงานด้านดังกล่าวของประเทศให้บรรลุผลในภาพรวม
โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม โดยมีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นที่ปรึกษาดำเนินการออกแบบหลักสูตรและพัฒนาระบบการเรียนรู้ทางไกลที่มุ่งเน้นให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามเวลาและสถานที่ที่มีความสะดวก พร้อมทั้งมีระบบการประเมินผลและให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงการหารือแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มผู้เรียน
อนึ่ง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้เข้าร่วมโครงการนี้
หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ |
ในระยะแรกของการดำเนินโครงการนี้ จะมีการจำกัดจำนวนของผู้เข้าใช้งานระบบการเรียนรู้ดังกล่าว โดยจะมีการคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เน้นกลุ่มเป้าหมายดังนี้
1) เจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะคัดเลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งระดับปฏิบัติการหรือระดับชำนาญการ และเป็นผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการเป็นพนักงานตรวจความปลอดภัย ตาม พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่มาก มีสถิติการประสบอันตรายสูง หรือขาดแคลนบุคลากรดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ
2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จะคัดเลือกจากผู้ที่มีคุณสมบัติบุคคลที่แสดงแนวโน้มความจำเป็นในการได้รับการพัฒนาศักยภาพเชิงเทคนิควิชาการ โดยจะเน้นผู้ที่ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบกิจการกลุ่มประเภทที่มีสถิติการประสบอันตรายสูง และสถานประกอบกิจการขนาดย่อมที่มีศักยภาพจำกัด
ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมทั้ง 2 กลุ่ม จะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเพื่อใช้สาหรับการเรียนรู้ ผ่านระบบทางไกล (ที่บ้าน/สานักงาน) ซึ่งเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (สามารถเปิดชมวิดีโอแบบออนไลน์ได้) เป็นผู้ที่มีทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ดี และมีเวลาเพื่อการเรียนรู้ตามโครงการนี้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ มีความกระตือรือล้นที่จะเรียนรู้อย่างแท้จริง
วิธีการใช้งานระบบการเรียนรู้ |
ระบบการเรียนรู้ทางไกลด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (e-OSH) สามารถเรียกใช้งานได้จากเว็บไซต์ www.e-osh.net ทั้งนี้ ผู้เข้าใช้งานจะต้องทำการ Log In เข้าสู่ระบบ โดยใช้รหัสประจำตัว (User ID) และรหัสผ่าน (Password) ที่ได้รับจากการสมัครเข้าร่วมโครงการ
เมื่อเข้าสู่ระบบเป็นที่เรียบร้อย จะปรากฏรายชื่อหมวดวิชาตามหลักสูตรที่จะเลือกเข้าเรียนรู้ได้ ดังนี้
• หมวด 1 การบริหารจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (Occupational Safety and Health Management)
• หมวด 2 เทคโนโลยีความปลอดภัย (Safety Technology)
• หมวด 3 สุขภาพและสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Health and Industrial Hygiene)
โดยแต่ละหมวดวิชา จะประกอบด้วย 15 หัวข้อวิชาย่อย พร้อมทั้งมีแบบทดสอบก่อนและหลัง การเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าเรียนรู้ในหมวดวิชาหรือหัวข้อวิชาใดๆ ได้ตามความประสงค์ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ เมื่อเลือกเข้าในหัวข้อวิชาหนึ่งๆ จะปรากฏวิดีโอบรรยายแนะนำ พร้อมด้วยเอกสารเนื้อหาวิชานั้นๆ ตลอดจนเอกสารอ้างอิงเพิ่มเติม นอกจากนี้ อาจมีการปรึกษาหารือผ่านระบบ Chat, E-mail หรือ Skype และสามารถหารือแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มผู้เรียนโดยผ่าน Facebook ได้อีกด้วย
การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ตามโครงการนี้ กาหนดหมวดวิชาหนึ่งๆ ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน พร้อมทั้งการทดสอบประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อดาเนินการในหมวดวิชาหนึ่งๆ เสร็จสิ้น ก็จะเข้าสู่หมวดวิชาต่อไป โดยดาเนินการในลักษณะเดียวกัน จนครบทั้ง 3 หมวดวิชา
เงื่อนไขและกรอบระยะเวลา |
การดำเนินกระบวนการเรียนรู้ตามโครงการฯ สาหรับปี 2561 กำหนดกรอบระยะเวลาไว้ดังนี้
• เดือนมีนาคม – เมษายน 2561 ดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ
• 1 พฤษภาคม – 15 กันยายน 2561 ผู้เข้าร่วมโครงการ ทำการเรียนรู้ตามหลักสูตร
• 16–30 กันยายน 2561 ประมวลผล และสรุป
ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีการเข้าใช้งานระบบเรียนรู้ฯ อย่างต่อเนื่อง และได้เรียนรู้ทุกหัวข้อวิชาครบถ้วน ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีผลทดสอบแต่ละหมวดวิชา ได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ถือเป็นผู้ผ่านหลักสูตรการเรียนรู้ตามโครงการนี้ และจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากกองความปลอดภัยแรงงาน
การสมัครเข้าร่วมโครงการ |
• จัดทาเอกสารลงนามคารับรองของผู้สมัครและผู้บังคับบัญชา และเตรียมเป็นไฟล์เพื่ออัพโหลด
• กรอกแบบลงทะเบียนออนไลน์ ที่ https://goo.gl/forms/nqLsGf1vLtPq3uyM2 ให้ครบถ้วนพร้อมทั้งอัพโหลดไฟล์เอกสารคารับรอง
ประกาศรายชื่อฯ ประจำปี ๒๕๖๑ |
หมายเหตุ |
• ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก คุณชมัยพร เทพานวล โทร. 02 448 9128-39 ต่อ 622
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ความปลอดภัยแรงงาน กองความปลอดภัยแรงงาน
โทร 0 2448 9128-39 ต่อ 622, 600